Processing Uint

          CPU หรือ Central Processing Unit คือหัวใจหลักในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จึงขาดซีพียูไม่ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ กลไกการทำงานของซีพียู การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่ หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล ประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานของซีพียูหรือความสามารถในการประมวลผล (Processing Power) นั้นขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของซีพียู

Central Processing Unit


RAM ย่อมาจาก Random Access Memory

          RAM คือหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ (เป็นหน่วยความจำแบบชั่วคราว ซึ่งหมายถึงจะสามารถทำงานได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยง เมื่อมีการตัดกระแสไฟฟ้าหรือปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลใน RAM ก็จะหายไป) RAM เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม รวมถึงความเร็วในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์


RAM


Motherboard คืออะไร 
          เมนบอร์ด (Motherboard) เป็นการจัดการด้านกายภาคของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยวงจรและอุปกรณ์พื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ การออกแบบแผ่นเมนบอร์ดโดยส่วนใหญ ่สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เป็นแบบ AT. ตามแบบแผ่นเมนบอร์ดของ IBM AT ข้อกำหนดใหม่ของแผ่นเมนบอร์ด คือ ATX เป็นการปรับปรุงการออกแบบ AT แต่การออกแบบของทั้งคู่คือ AT และ ATX ได้กำหนดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่จะติดตั้งบนแผ่นเมนบอร์ด คือ
- ไมโครโพรเซสเซอร์
- (อ๊อปชัน : Coprocessor)
- หน่วยความจำ
- BIOS
- expansion Slots
- วงจรต่อเชื่อมภายใน
อุปกรณ์ส่วนเพิ่มอื่น ๆสามารถเพิ่มที่แผ่นเมนบอร์ด โดยการเสียบเข้ากับ expansion slot ส่วนที่เชื่อมระหว่างแผ่นเมนบอร์ดกับการ์ดที่ expansion slot เรียกว่า บัส (BUS)



Motherboard 


          daughterboard แผงวงจรตัวลูกหมายถึง แผงวงจรอีกชุดหนึ่งที่ทำเพิ่มไว้เผื่อให้เลือกใช้ได้สามารถเสียบเข้าใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ควบคู่ไปกับแผงวงจรหลักได้เลยเมื่อเรียกแผงวงจรหลักว่า ตัวแม่ (motherboard) จึงได้เรียกตัวนี้ว่าตัวลูก






Sound card




Lan card






vga card




          ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เปรียบเสมือนคลังเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีความจุที่ค่อนข้างสูง ภายในฮาร์ดดิสก์จะมีแผ่นจานเหล็กกลมแบบที่ใช้บันทึกข้อมูลวางซ้อนกันเป็นชั้นๆ และยึดติดกับมอเตอร์ที่มีความเร็วในการหมุนหลายพันรอบต่อนาทีโดยมีแขนเล็กๆที่ยื่นออดมา ตรงปลายแขนจะมีหัวอ่านซึ่งใช้สำหรับการอ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนจานแม่เหล็ก การอ่านหรือเขียนข้อมูลของฮาร์ดดิสก์จะใช้หลักการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กที่หัวอ่านขนาดของจานที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop) จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.5 นิ้ว ส่วนถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์ของโน้ตบุ๊คก็ประมาณ 2.5 นิ้ว 



Harddisk





          CD/DVD ROM เป็นอุปกรณ์ในการอ่านแผ่น CD VCD DVD โดยใช้แสงในการอ่านข้อมูล สำหรับสื่อประเภทนี้ไปสำหรับบันทึกข้อมูลลงบนแผ่น มีความจุมากกว่าแผ่นดิสก์แบบปกติ CD/DVD Rom เป็นเครื่องที่ใช้ในการอ่านข้อมูลจากแผ่น CDประเภทต่างๆที่ตัวเครื่องสามารถที่จะรองรับการอ่านได้ และโดยทั่วไปการจำหน่ายจะเป็น DVD Rom โดยสามารถที่จะอ่านข้อมูล CD และDVD ได้เลย หากเป็นรุ่นเก่าที่รองรับ CD ได้เท่านั้นไม่สามารถที่จะอ่าน DVD ได้ และปัจจุบันส่วนมากเป็นแผ่น DVD กันหมดแล้ว 


CD / DVD ROM

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น